ครอบครัวเข็มภูเขียว

ครอบครัวเข็มภูเขียว
ถ้าเราไม่รู้จักแสวงหาความรู้ ความรู้ก็ไม่มาหาเรา '' เคล็ดลับของสำเร็จคือการเดินทางอย่างต่อเนื่องไปสู่จุดมุ่งหมาย ''

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 05/02/52

วันนี้เอากิจกรรมไปส่งอาจารย์แต่ยังไม่สมบูรณ์ก็เลยนำมาแก้ไขใหม่ให้สมบูรณ์มากกว่าเดิม หลังจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายวิธีการสอนในวันที่ 1 สอนในหน่วยเสริมประสบการณ์ ว่าต้องมีอะไรบ้าง จะสอนเด็กในแต่ละหน่วยของแต่ละกลุ่ม การสอนของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เด็กได้สาระอะไรในการสอนบ้าง การสอนแบบใช้คำถามปลายเปิด ในการสอนควรมี การเตรียมความพร้อม วางแบบแผน เตรียมอุปกรณ์ในการสอน

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หน่วยฝรั่ง
กิจกรรมฝรั่งหรรษา

จำแนก
.รูปร่าง
-กลม - เรียว – เล็ก - ใหญ่

.สี
- เขียว - เหลือง - เขียวแก่ - เขียวอ่อน

.รสชาติ
- หวาน - เปรี้ยว - จืด - หวานอมเปรี้ยว



การนับ
-ให้เด็กนับฝรั่งในตะกร้า
-ให้เด็กนับอุปกรณ์ที่ใชัทำน้ำฝรั่ง
-ให้เด็กนับฝรั่งที่มีลักษณะกลม และเรียว
ตัวเลข
- ให้เด็กนำตัวเลขมาใส่หลังจากนับฝรั่ง
การจับคู่
- ให้เด็กจับคู่ฝรั่งที่มีขนาด เท่ากัน
- ให้เด็กจับคู่ฝรั่งที่มีสีต่างกัน
- ให้เด็กจับคู่ฝรั่งที่มีสีหมือนกัน
- ให้เด็กจับคู่ฝรั่งที่ไม่มีขนาดเท่ากัน
การจัดประเภท
- ให้เด็กแยกฝรั่งที่มีสีเหมือนกัน
- ให้เด็กแยกฝรั่งที่มีสีไม่เหมือนกัน
- ให้เด็กแยกขนาดของฝรั่ง เล็ก- ใหญ่



การเปรียบเทียบ
- ให้เด็กเปรียบเทียบฝรั่งที่มีขนาดเล็กและฝรั่งที่มีขนาดใหญ่
- ให้เด็กเปรียบเทียบสีของฝรั่ง สีเขียว – เหลือง
- ให้เด็กเปรียบเทียบผิวของฝรั่ง ขุรขะ – เรียบ
-
การจัดลำดับ
- ให้เด็กเรียงลำดับฝรั่งที่มีขนาดเล็กสุดไปหาฝรั่งที่มีขนาดใหญ่สุด
- ให้เด็กเรียงลำดับฝรั่งที่มีขนาดใหญ่สุดไปหาฝรั่งที่มีขนาดเล็กสุด
รูปทรงและเนื้อที่
- ให้เด็กแยกฝรั่งที่ลักษณะกลม - เรียว
การวัด
- ให้เด็กเปรียบเทียบฝรั่งลูกไหนหนัก ลูกไหนเบากว่ากัน
- ให้เด็กวัดเส้นรอบลูกฝรั่ง ว่าแต่ละลูกมีขนาดเท่าได
เซต
- ครูบอกนักเรียนว่าฝรั่งมี 2 ประเภท คือฝรั่งธรรมดาและฝรั่งขี่นก
เศษส่วนการทำตามแบบ หรือรวดราย
- ให้แด็กแยกฝรั่งที่มีผิวเรียบและผิวขุรขะออกจากกัน
- ให้เด็ก 4 คนต่อฝรั่ง 1 ลูก และแบ่งให้เท่าๆกัน
การอนุรักษ์
- ให้เด็กเสนอว่าจะเก็บฝรั่งแบบใดคือจะแช่อิ่ม จะดอง หรือ หรือจะเก็บไว้ในที่เย็น

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

หน่วยผลไม้
กิจกรรมหรรษา
อุปกรณ์
1.ฝรั่ง 10 ลูก
2.ตะกร้า 4 ใบ
ขั้นตอนตอนการทำกิจกรรม
1. ครูนำฝรั่งขึ้นมา 2 ลูกและถามเด็กๆว่า เด็กรู้จักสิ่งที่ครูนำมาหรือไม่
2. ครูถามเด็กๆ ต่อไปว่า ฝรั่ง 2 ลูกนี้มีลักษณะอย่างไร
3. แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กัน
4. ครูวางข้อตกลงและกติกาการเล่นเกมโดย
4.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มยืนเรียงแถวตอนลึกโดยมีตะกร้าฝรั่งวางไว้หัวแถว และวางตะกร้าเปล่าออกไป 5 เมตร
4.2 ครูเป่านกหวีดให้สัญญาณ แล้วให้เด็กคนที่อยู่หัวแถวแต่และแถวหยิบฝรั่งที่อยู่ในตะกร้าที่อยู่หัวแถวไปใส่ในตะกร้าอีกใบที่เตรียมไว้และวิ่งกับไปหัวแถวใหม่และคนที่ 2 และคนต่อ ๆ ไปก็ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าฝรั่งจะหมดตะกร้า
4.3 ถ้าใครทำฝรั่งหลุดมือต้องวิ่งกลับมาเอาฝรั่งลูกใหม่มาใส่ตะกร้าแทน
4.4 ทีมใดนำฝรั่งใส่ตะกร้าได้หมดก่อนทีมนั้นเป็นฝ่ายชนะ
4.5 จากนั้นให้แต่ละทีมนับดูว่าฝรั่งในตะกร้าของตัวเองมีกี่ลูก
สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวเกศสิณี เพิ่มญาติ
2.นางสาวจิราภรณ์ ใจกล้า
3.นางสาวสะกาวเดือน สงค์มา
4.นางสาวทิตติยา เข็มภูเขียว
ทำส่งแล้วแต่ทำผิดเลยต้องทำใหม่

ฝรั่ง (ทำส่งใหม่)


ฝรั่ง (งานเก่า)


วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

คณิตศคาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 29/01/2552

วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องการทำกิจกรรมว่า ในขั้นตอนการทำกิจกรรมมว่ามีอะไรบ้าง
ให้นักศึกษาที่ยังส่งกิจกรรมไม่ครบ
ให้ทำส่งถ้าทำส่งเสร็จแล้วให้ส่งพร้อมรับกิจกรรมไปทำมาส่งทางเมล์อาจารย์จ๋า
jintana-su@hotmail.com
อาจารย์อธิบายตัวกิจกรรมให้ฟังว่าแต่ละขั้นตอนในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมมีอะไรบ้าง วันนี้ในการเรียนอาจเป็นวันที่ว่นวายเพราะอาทิตย์ที่แล้วขาดเรียน
และส่งกิจกรรมหน่วยของผลไม้ฝรั่งอาจารย์ให้ปรับปรุงตัวกิจรรม

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

การไปสังเกตเด็ก

เพลง นับเลข
นับหนึ่ง เป็นกบกระโดด
นับสอง ว่ายน้ำเหมือนปลา
นับสาม วิ่งควบเหมือนม้า
นับสี่ บินเหมือนผีเสื้อ (ร้องซ้ำ 3 รอบ)
นับสี่....... นับสาม....... นับสอง....... นับหนึ่ง.......
เพลง เลขาคณิต
ตบมือ ตบมือ ส่ายสะโพกโบกมือไปมา
ตบมือ ตบมือ เดินเป็นรูปสี่เหลื่ยม
เดินหน้า ถอยหลัง ส่ายสะโพกโบกมือไปมา
เดินหน้า ถอยหลัง เดินเป็นรูปวงกลม

การที่ได้ไปสำรวจเด็กมา 10 วัน ที่โรงเรียนเกษมพิทยา ชั้นอนุบาล 3/1 มีความประทับใจมากแล้วมีการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น ตอนเช้าจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายในเพลงดังกล่าวข้างต้นและการบอกวันที่ นับจำนวนของหลอดในการเพิ่มวันที่ของแต่ละวัน มีการนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียนในแต่ละวัน